กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดราชบุรี
ศาลากลางจังหวัดราชบุรี (หลังเก่า) ชั้น 2 ถนนอำเภอ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ติดต่อ โทร. 0 3233 2571 โทรสาร 0 3233 2574 - 5
ข่าวประชาสัมพันธ์
แอพพลิเคชันแจ้งเตือนสาธารณภัย > Thai Disaster Alert > LINE @Traffyfondue @1784 DDPM @LineAlert
ปีงบประมาณ พ.ศ.2566
ประชาสัมพันธ์ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) และแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้เสียภายนอก (EIT)
ขอเชิญร่วมรณรงค์ส่งแสงเพื่อรำลึกถึงหมอกระต่าย ในโอกาสครบรอบ 1 ปีของการจากไป และเนื่องในวันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน ด้วยการเปิดไฟหน้ารถ หรือเปิดไฟฉายโทรศัพท์มือถือ ในวันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2566 เวลา 15.09 น. เป็นเวลา 1 นาที พร้อมกันทั่วประเทศ
สื่อประชาสัมพันธ์ของโครงการปลูกจิตสำนึกและสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย
การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญาภัยจากอากาศหนาวปี พ.ศ.2565-2566
ประมวลภาพกิจกรรม
วันที่ 16 มีนาคม 2566 เวลา 15.00 น. นายอุดม เพชรคุต รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ลงพื้นที่สังเกตการณ์การฉีดพ่นละอองน้ำ เพื่อลดค่าฝุ่นละอองในพื้นที่อำเภอโพธาราม ณ ริมเขื่อนโพธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ร่วมกับสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดราชบุรี นำรถบรรทุกน้ำ จำนวน 2 คัน พร้อมชุดยานยนต์ดับเพลิงฉีดหมอกน้ำ/โฟม ด้วยระบบควบคุมระยะไกล (LUF60) และได้รับการสนับสนุนรถบรรทุกน้ำจากเทศบาลเมืองโพธาราม จำนวน 4 คัน ลงพื้นที่ฉีดพ่นละอองน้ำ เพื่อลดค่าฝุ่นละอองและเพิ่มความชื้นในอากาศ แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอนามัยของประชาชน โดยปริมาณน้ำที่ใช้ฉีดพ่น จำนวน 80,000 ลิตร ทั้งนี้ นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี มอบหมายให้นายจตุพร กมลพันธ์ทิพย์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยนายชิตสกนธ์ รังษีเสริมสุข เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี นำคณะทำงานลงพื้นที่ โดยมีพ.อ.ณัฐดนัย ชัยพีชญากร หัวหน้ากลุ่มงานกิจการมวลชน กอ.รมน. พร้อมพลทหาร 10 นาย คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาลเมืองโพธาราม บุคลากรเทศบาลเมืองโพธาราม และเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ลงพื้นที่ในครั้งนี้
วันที่ 16 มีนาคม 2566 นายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี มอบหมายให้ นางศรินทิพย์ ศีลาเทวากูล รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดราชบุรี เป็นประธานฯ นายอนุตร ปางพุฒิพงษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดราชบุรี นางสาวรมณีย์ สบายใจ หัวหน้าฝ่ายสงเคราะห์ฯ และนางสาวชุติมณฑร์ นันทพันธ์ เจ้าพนักงานธุรการชำนาญการ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดราชบุรี มอบถุงยังชีพพระราชทานของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ นอกจากนี้ เหล่ากาชาดจังหวัดราชบุรีและองค์การบริหารส่วนตำบลบางป่า ได้มอบเงินช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประสบภัยเหตุเพลิงไหม้บ้านเรือน นางสร้อย ดีแสน เลขที่ 22/2 หมู่ 11 ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2566 โดยมีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบางป่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางป่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางป่า เข้าร่วมฯ
วันที่ 6 มีนาคม 2566 จังหวัดราชบุรี ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี จัดงานวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา (วันมาฆบูชา) ประจำปี พ.ศ.2566 เพื่อส่งเสริมกิจกรมทางพะพุทธศาสนา ตลอดจนส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชน ได้รำลึกถึงความสำคัญของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา (วันมาฆบูชา) และจรรโลงพระพุทธศาสนา ณ วัดศูนย์กลางระดับจังหวัด จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ วัดมหาธาตุวรวิหาร และวัดอมรินทราราม อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ได้แก่ - พิธีทำบุญ ตักบาตร เนื่องในวันมาฆบูชา 2566 เวลา 07.00 น. และพิธีเวียนเทียน เนื่องในวันมาฆบูชา 2566 เวลา 18.30 น. ณ วัดอมรินทราราม ตำบลโคกหม้อ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี - พิธีเวียนเทียน เนื่องในวันมาฆบูชา 2566 เวลา 18.30 น. ณ วัดมหาธาตุวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ในการนี้ เจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดราชบุรี ได้เข้าร่วมพิธีฯ โดยพร้อมเพรียงกัน
วันที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 09.30 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อำเภอดำเนินสะดวก ได้จัดประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประจำเดือนมีนาคม 2566 โดยมีนายสุวิทย์ชาติ นวมเพ็ชร นายอำเภอดำเนินสะดวก เป็นประธานฯ พร้อมอ่านสาส์นจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องในวันคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ในการนี้ นายอนุตร ปางพุฒิพงษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดราชบุรี เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว เพื่อชี้แจงนโยบายข้อราชการสำคัญของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ การเตรียมความพร้อมรับมือสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นในฤดูร้อน อาทิ ภัยแล้ง อัคคีภัย ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) พร้อมเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน การสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ การใช้ทางม้าลายอย่างปลอดภัย ท้ายนี้ ได้แนะนำแอพพลิเคชันการแจ้งเหตุสาธารณภัย “Thai Disaster Alert” และแอพพลิเคชัน Line Official Account ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784 / Traffy Fondue และ Line Alert เพื่อให้กำนันผู้ใหญ่บ้านนำไปประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนได้รู้จักอย่างทั่วถึงมากขึ้น
วันที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 09.30 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี อำเภอปากท่อ ได้จัดประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประจำเดือนมีนาคม 2566 โดยมีนายประทีป นทีทวีวัฒน์ นายอำเภอปากท่อ เป็นประธานฯ พร้อมอ่านสาส์นจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องในวันคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ในการนี้ นายอนุตร ปางพุฒิพงษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดราชบุรี มอบหมายให้ นายกฤษกร นิธิเรวดีพร ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดราชบุรี เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว เพื่อชี้แจงนโยบายข้อราชการสำคัญของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ การเตรียมความพร้อมรับมือสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นในฤดูร้อน อาทิ ภัยแล้ง อัคคีภัย ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) พร้อมเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน การสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ การใช้ทางม้าลายอย่างปลอดภัย ท้ายนี้ ได้แนะนำแอพพลิเคชันการแจ้งเหตุสาธารณภัย “Thai Disaster Alert” และแอพพลิเคชัน Line Official Account ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784 / Traffy Fondue และ Line Alert เพื่อให้กำนันผู้ใหญ่บ้านนำไปประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนได้รู้จักอย่างทั่วถึงมากขึ้น
วันที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 09.30 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี อำเภอบางแพ ได้จัดประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประจำเดือนมีนาคม 2566 โดยมีนายสายชล จันทร์เพ็ญ นายอำเภอบางแพ เป็นประธานฯ พร้อมอ่านสาส์นจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องในวันคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) นอกจากนี้ ได้มอบผ้าห่มกันหนาวพระราชทานของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้แก่ผู้แทนพื้นที่ เพื่อนำไปแจกจ่ายประชาชน ต่อไป ในการนี้ นายอนุตร ปางพุฒิพงษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดราชบุรี มอบหมายให้ นางสาวทิฆัมพร ศรีเกตุ หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และการจัดการ เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว เพื่อชี้แจงนโยบายข้อราชการสำคัญของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ การเตรียมความพร้อมรับมือสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นในฤดูร้อน อาทิ ภัยแล้ง อัคคีภัย ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) พร้อมเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน การสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ การใช้ทางม้าลายอย่างปลอดภัย ท้ายนี้ ได้แนะนำแอพพลิเคชันการแจ้งเหตุสาธารณภัย “Thai Disaster Alert” และแอพพลิเคชัน Line Official Account ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784 / Traffy Fondue และ Line Alert เพื่อให้กำนันผู้ใหญ่บ้านนำไปประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนได้รู้จักอย่างทั่วถึงมากขึ้น
สาระน่ารู้
1. หากพบว่าระดับท่วมสูงเกินครึ่งล้อรถ ควรหลีกเลี่ยงการใช้เส้นทาง 2. ปิดแอร์เมื่อเจอน้ำท่วมสูง เพื่อป้องกันน้ำเข้าสู่ห้องเครื่อง 3. ชะลอความเร็ว และรักษาระดับความเร็วของรถให้คงที่ 4. ใช้เกียร์ต่ำ เพื่อประคองรถยนต์ไม่ให้ดับ โดยรถเกียร์ธรรมดา ให้ใช้เกียร์ 1-2 และรถเกียร์ออโต้ ใช้เกียร์ L 5. หากรถดับขณะขับลุยน้ำท่วม ห้ามสตาร์ทรถใหม่โดยเด็ดขาดเพื่อป้องกันไม่ให้ระบบเครื่องยนต์และระบบไฟฟ้าของรถเสียหาย
ไฟป่า คือ ไฟที่เกิดแล้วลุกลามไปได้โดยอิสระปราศจากการควบคุม ไม่ว่าไฟนั้นจะเกิดขึ้นในป่าธรรมชาติหรือสวนป่า ไฟป่าสามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุ ได้ดังนี้ 1.ไฟป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 2.ไฟป่าที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ โดยจังหวัดราชบุรีมักจะเกิดไฟป่าขึ้นเป็นประจำในช่วงฤดูร้อน และในปี พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา ได้เกิดไฟป่าในจังหวัดราชบุรี ทั้งสิ้น 36 ครั้ง สร้างความเสียหาย 470 ไร่ ไฟป่าที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อพืช ดิน น้ำ รวมถึงสุขภาพของมนุษย์ด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดราชบุรี จีงขอนำเสนอ 4 วิธี ป้องกันไฟป่า ดังนี้ 1. กำจัดวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงริมแนวชายป่า 2. เตรียมพื้นที่การเกษตร โดยการไถกลบ แทนการเผา 3. จัดทำแนวกันไฟรอบบ้าน และพื้นที่การเกษตร 4. งดเว้นการประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับไฟ ริมแนวชายป่า
1. อพยพไปยังที่ปลอดภัย โดยใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปาก หมอบคลานต่ำใกล้กับระดับพื้นให้มากที่สุด 2. กรณีติดอยู่ในพื้นที่เกิดเพลิงไหม้ ให้โทรศัพท์แจ้งตำแหน่งที่ติดอยู่ หรือส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่อยู่ภายนอกอาคาร 3. ห้ามใช้ลิฟต์ในการอพยพหนีไฟ เสี่ยงต่อการติดต้างภายในลิฟต์ 4. ห้ามกลับเข้าไปในอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ เพราะเสี่ยวต่อการถูกไฟคลอก หรือโครงสร้างอาคารถล่มทับ *ระยะเวลาเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ * *ภายในระยะเวลา 1 นาที ไฟจะเริ่มกระจายไปทั่วห้อง **ระยะเวลา 2-4 นาที ควันไฟจะเริ่มกระจายเป็นวงกว้าง ***ระยะเวลา 5 นาที ควันไฟ ความร้อน และก๊าซพิษ จะทำให้ผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้เสียชีวิต ดังนั้น ระยะเวลาอพยพหนีเพลิงไหม้ที่ปลอดภัย คือ 2 นาทีแรกนับตั้งแต่เกิดเพลิงไหม้
วิธีปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากลมแรง-ฟ้าผ่า
5 วิธี ป้องกันฝุ่น PM 2.5
รับมือภัยพิบัติ
แจ้งเตือนสาธารณภัย
14/3/2566
การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5
14/3/2566
แจ้งเตือนพายุฤดูร้อน ช่วงวันที่ 12-14 มี.ค 66
13/2/2566 แจ้งเตือนสถานการณ์ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแ.. แจ้งเตือนสถานการณ์ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง 14-17 ก.พ 66
20/1/2566 การป้องกันอันตรายจากอัคคีภัย และอุบัติภั.. การป้องกันอันตรายจากอัคคีภัย และอุบัติภัยในช่วงวันตรุษจีน 2566
จำนวนผู้เข้าชมในหน้านี้ 8292 ครั้ง